การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไม่ใช้อากาศ
“ระบบไม่ใช้อากาศ” หมายถึง ระบบชีวภาพสำหรับบำบัดน้ำเสีย (หรือสลัดจ์) ทุกแบบที่ไม่ได้ใช้ออกซิเจนอิสระเป็นตัวสุดท้ายในการรับอิเล็กตรอน
ตัวอย่างของกระบวนการไม่ใช้อากาศมีดังนี้
-
มีเทนเฟอร์เมนเตชัน (Methane Fermentation)
-
ซัลเฟตรีดักชัน (Sulfate Reduction)
-
ดีไนตริฟิเคชัน (Denitrification)
-
เฟอร์เมนเตชัน (Fermentation)
-
Reductive Dechlorination
-
Anaerobic Reduction on Azo Dye
การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไม่ใช้อากาศ
เนื่องจากโลกของการไม่ใช้อากาศกว้างขวางกว่าโลกของการใช้อากาศมาก กระบวนการไม่ใช้อากาศจึงเป็นเทคโนโลยีที่เติมเต็มให้กับกระบวนการใช้อากาศ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ความสะอาดสูงสุด ในปัจจุบันเริ่มมองเห็นแล้วว่าเทคโนโลยีไม่ใช้อากาศช่วยแก้ปัญหาที่ยังหาคำตอบไม่ได้ต่างๆ ดังนี้
-
การบำบัดน้ำเสียที่มี Hard COD
-
การแก้ปัญหาสีของน้ำเสียฟอกย้อม
-
การกำจัดสารพิษต่างๆ ของน้ำเสียอุตสาหกรรมสมัยใหม่
-
การกำจัดสารอาหารในน้ำเสียเข้มข้นสูง
-
การลดพลังงานสำหรับบำบัดน้ำเสียนานาชนิด
ห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนามีเป้าหมายดังนี้
-
วิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีไม่ใช้อากาศให้เป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากขึ้นและเพื่อหารูปแบบของระบบไม่ใช้อากาศที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย
-
ส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีไม่ใช้อากาศในการบำบัดน้ำเสียชุมชนและอุตสาหกรรมรวมทั้งสลัดจ์อินทรีย์ต่างๆ